ภาวะต่อมลูกหมากโตและต่อมลูกหมากอักเสบกับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

อาการแสดงออกที่มีปัสสาวะติดขัด ปวดหรือไม่สบายท้องน้อย มักพบในผู้ชายสูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก อาจเป็นต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือกระทั่งเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่นเดียวกับผู้หญิงเมื่อถึงวัยทอง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าเราเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว ชีวิตของคนเราเกิดและเจริญเติบโตมาจากการเจริญรุ่งเรืองของไต พอโตเต็มที่ถึงจุดสูงสุดจะเริ่มเสื่อมถอย การทำงานของไตก็เช่นเดียวกัน เมื่อถึงอายุ 35 ปี การทำงานของไตเริ่มถดถอยลงอายุ 50-60 ปี การเสื่อมของไตเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะสืบพันธ์ที่ถูกกำกับดูแลโดยไต ถดถอยลงด้วยอาการต่อมลูกหมากในผู้ชาย และอาการวัยทองของผู้หญิงจึงปรากฏขึ้น ทั้งนี้ยังส่งผลถึงสมรรถภาพทางเพศเสื่อมถอยอีกด้วย

การแพทย์แผนจีนจัดกลุ่มอาการที่เกิดจากโรคต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบได้หลายกลุ่มอาการ เช่น

  • กลุ่มโรคปัสสาวะขัด (Lin Zheng 淋证)
  • อสุจิเคลื่อน (Yi Jing :遗精)
  • หนองใน (Lin Bing 淋病)
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาต่อมลูกหมากโตในทางการแพทย์แผนจีน

แนวทางการวินิจฉัยและรักษาต่อมลูกหมากโตในทางการแพทย์แผนจีน

ผู้ป่วยที่มีอาการของต่อมลูกหมากโต สามารถแยกโรคตามสาเหตุที่ต่างกัน ได้ดังนี้

1. พลังไตหยางพร่อง

อาการแสดง

  • ปัสสาวะไม่คล่อง ติดขัด
  • ไม่มีแรงเบ่ง
  • สีหน้าขาวซีด ใบหน้าไม่มีชีวิตชีวา

อาการแสดงร่วมอื่นๆ

  • เอว หัวเข่า รู้สึกเย็น และปวดเมื่อย ไม่มีแรง
  • ปลายมือปลายเท้าเย็น ไม่อุ่น
  • ลิ้นสีซีด ฝ้าขาว
  • ชีพจรอ่อนไม่มีแรงคลำได้ในระดับ ลึก

รักษาด้วยสมุนไพรประเภทที่มีฤทธิ์ “บำรุงและอุ่นพลังหยาง ขับเคลื่อนพลังและขับปัสสาวะ”

2. ไตยินพร่อง

อาการแสดง

  • อยากจะปัสสาวะแต่ก็ปัสสาวะไม่ออก

อาการแสดงร่วมอื่นๆ

  • คอแห้ง
  • หงุดหงิด
  • ฝ่ามือ ฝ่าเท้าร้อน
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
  • ตัวลิ้นสีแดงเห็นเป็นวาว
  • ชีพจรเบา เร็ว

รักษาด้วยสมุนไพรประเภทที่มีฤทธิ์ “บำรุงธาตุน้ำ รักษาไตพร่อง”

3. พลังกระเพาะม้ามพร่อง

อาการแสดง

  • อาการจุกแน่นบริเวณท้องน้อย

อาการแสดงร่วมอื่น ๆ

  • เบื่ออาหาร
  • หายใจไม่ลึก
  • พูดเสียง เบา (ขาดพลัง)
  • บางครั้งพบมีการหน่วงของปากทวารหนัก (เนื่องจาก ขาดพลังพยุงรั้ง-ทำให้เหมือนจะ ทะลักออกมา)
  • ตัวลิ้นซีด ฝ้าขาว บาง
  • ชีพจรอ่อนแอและเบา

รักษาด้วยสมุนไพรประเภทที่มีฤทธิ์ “บำรุงกระเพาะม้าม เพิ่มพลัง ช่วยการกระจายของเหลว”

4. การอุดกั้นของก้อน การที่มีการคั่งค้างของเลือดหรือมีการอุดกั้นของการไหลเวียนเลือดและพลังบริเวณต่อมลูกหมาก จากสาเหตุใดก็ตามจะทำให้เกิด

อาการแสดง

  • ขับปัสสาวะติดขัด
  • ปวดแน่นท้องน้อย

อาการแสดงร่วมอื่นๆ

  • ตรวจลิ้นจะพบมีจุดจ้ำเลือด หรือตัวลิ้นมี สีม่วง
  • ชีพจรฝืด

รักษาด้วยสมุนไพรประเภทที่มีฤทธิ์ “ขับสลายการอุดกั้นของก้อน ขับปัสสาวะ”

5. ความร้อนชื้นสู่ด้านล่าง (พบการอักเสบติดเชื้อ)

อาการแสดง

  • ปัสสาวะน้อย
  • สีเหลือง
  • ปัสสาวะร้อน
  • ปวดขัด

อาการแสดงร่วมอื่นๆ

  • มีไข้
  • ปวดท้องน้อย
  • คอแห้ง
  • ฝ้าบนลิ้นมี สีเหลืองมัน ตัวลิ้นแดง
  • ชีพจรเร็ว

รักษาด้วยสมุนไพรประเภทที่มีฤทธิ์ “ขับร้อน ขับชื้น”

6. พลังตับอุดกั้นอารมณ์ทั้ง 7 โดยเฉพาะการ มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย จะมีผลโดยตรงต่อตับ ถ้าพลังตับอุดกั้นจะทำให้พลังซานเจียวติดขัด

อาการแสดง

  • การขับน้ำปัสสาวะก็เกิดปัญหา

อาการแสดงร่วมอื่นๆ

  • มีอารมณ์แปรปรวน
  • เจ้าอารมณ์
  • โกรธง่าย
  • ปวดชายโครง
  • ลิ้นมีฝ้าเหลืองบาง ตัวลิ้นแดง
  • ชีพจรฝืด

รักษาด้วยสมุนไพรประเภท ที่มีฤทธิ์ “ใช้ยาระบายการอุดกั้นของตับ”

การดูแลอาการต่อมลูกหมากโตด้วยสมุนไพร Brassica Campestris ผักกาดหางหงส์
การดูแลอาการต่อมลูกหมากโตด้วยสมุนไพร Brassica Campestris ผักกาดหางหงส์

แนวทางการรักษาต่อมลูกหมากโตในแพทย์แผนจีน

แนวทางการรักษาต่อมลูกหมากโต ในแพทย์แผนจีนเน้นการปรับสมดุลอวัยวะภายใน และบำรุงอวัยวะไตเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการฝังเข็ม หรือการใช้ยาสมุนไพรก็ตาม การรักษาภาวะต่อมลูกหมากโต หรือภาวะต่อมลูกหมากอักเสบนั้น เน้นการปรับการทำงานของอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องโดยตรง นั่นก็คือ ไต ทำให้ไตแข็งแรงและทำงานกันอย่างสมดุลเพื่อควบคุมภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะขัด ปัสสาวะเล็ด มีอาการปวดเมื่อขับปัสสาวะ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น โดยแพทย์จีนนิยมใช้เกสรดอกไม้ (Bee Pollen) จากต้น Brassica Campestris ในการรักษากลุ่มอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด และปัสสาวะกะปริดกะปรอย เป็นต้น

อย่างไรก็ตามปัจจุบันในประเทศจีนมักใช้วิธีการบูรณาการการแพทย์ 2 แผนเข้าด้วยกัน การรักษาแบบแผนจีนมักมุ่งเน้นที่ความเสียสมดุลให้ร่างกายปรับสภาพ ซึ่งสามารถให้ผลในระดับที่แน่นอน แต่บางครั้งการเปลี่ยนแปลงหรือภาวะสมดุลไม่อาจปรับให้สู่ภาวะเหมือนเดิมได้หมด จำเป็นต้องอาศัยวิธีการสมัยใหม่เข้าช่วยเหลือ โดยการรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน

บทความโดย : แพทย์จีน อิสราภรณ์ เอกผาติสวัสดิ์

กลับไป
Facebook
LINE
อีเมล
Call
error: Content is protected !!