เลือดนั้นสำคัญอย่างไร
เลือดเป็นของเหลวสีแดงที่อยู่ในเส้นเลือด ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานปกติ โดยมีองค์ประกอบ 4 ส่วนดังนี้
- น้ำเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารไปให้ทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย โดยไขมันจะถูกลำเลียงในรูปอนุภาคขนาดเล็ก โปรตีนถูกลำเลียงในรูปกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรตถูกลำเลียงในรูปน้ำตาลกลูโคสและวิตามินต่าง ๆ สารอาหารเหล่านี้เป็นวัตถุดิบสำหรับเซลล์ในการสร้างพลังงานและการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ และในขณะเดียวกันน้ำเลือดก็ช่วยรับเอาของเสียจากอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ กลับออกมาเพื่อขับออกจากร่างกาย ส่วนฮอร์โมนซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อและทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายนั้นก็ต้องอาศัยน้ำเลือดเป็นตัวกลางในการลำเลียงไปยังอวัยวะเป้าหมาย
- เกล็ดเลือด ทำหน้าที่ร่วมกับแฟคเตอร์การแข็งตัวของเลือดเพื่อทำการห้ามเลือดเมื่อร่างกายเกิดบาดแผล หลอดเลือดฉีกขาดหรือมีการตกเลือดในอวัยวะภายใน
- เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังทุกเซลล์และรับคาร์บอนไดออกไซด์กลับออกมาที่ปอดเพื่อขับออกจากร่างกายขณะหายใจออก
- เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค
นอกจากนี้ การไหลเวียนของเลือดยังช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำอิเล็คโทรไลต์ ความเป็นกรด-ด่างและอุณหภูมิของร่างกาย
ดังนั้น เลือดพร่องในทัศนะการแพทย์จีนจึงได้ครอบคลุมถึงความผิดปกติทั้งปริมาณและคุณภาพของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น ความผิด ปกติของสารเคมีและสารอาหารในเลือด ตลอดจนการไหลเวียนของเลือดที่ช้าลง อาการของเลือดพร่องจึงเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ ระบบของร่างกาย

ภาวะเลือดพร่องมีอาการอย่างไร
อาการของเลือดพร่องเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ ระบบของร่างกาย เช่น
- อ่อนเพลีย
- หน้าตาซีดเซียว
- ไม่มีออร่า
- ไม่มีเลือดฝาด
- เหนื่อยง่าย
- ริมฝีปาก และเยื่อบุเปลือกตาซีด
- เล็บซีดและเปราะบางฉีกขาดง่าย
- นอนไม่หลับ ฝันบ่อย หาวนอนบ่อย
- ใจสั่น
- เวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
- มือเท้าชา
- มีบุตรยาก
- แท้งบุตร
- มีจุดแดงขึ้นตามตัวหรือมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ เช่น มีเลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน
- ประจำเดือนมาผิดเวลา มามากหรือมาน้อยเกินไปหรือมากะปริบกะปรอย ประจำเดือนสีซีด
- ถ่ายเป็นเลือด
- ตาแห้ง ตาขาวขุ่นลงและมีเส้นเลือดฝอย
- เหงือกร่นทำให้เศษอาหารติดฟันง่ายขึ้น
- ภูมิคุ้มกันต่ำ
- เป็นหวัดง่าย ติดเชื้อง่าย
- ผิวหนังหยาบกร้าน
- ผมหลุดร่วงง่าย
- อุจจาระแข็ง
การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดภาวะเลือดพร่องอย่างไร
การใช้ตังกุยในการบำรุงเลือด บำบัดภาวะเลือดพร่อง มีประวัติมานานกว่าหนึ่งพันปี ตังกุยยังได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดสมุนไพรบำรุงเลือดและช่วยปรับความสมดุลของเลือด แต่คนส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจว่าจริง ๆ แล้วหัวตังกุยและหางตังกุยจะมีสรรพคุณที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

หัวตังกุย
บำรุงเลือด ปรับความสมดุลของเลือด

หางตังกุย
สลายเลือดคั่ง กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ดังนั้น การใช้ตังกุยในการบำบัดภาวะเลือดพร่องอย่างได้ผล สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การจัดสัดส่วนของหัวตังกุยและหางตังกุยได้อย่างเหมาะสมและลงตัว ซึ่งจะแตกต่างจากท้องตลาดทั่ว ๆ ไปที่นำตังกุยทั้งหัวมา
ใช้โดยไม่ได้พิถีพิถันต่อการจัดสรรสัดส่วน
อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ขี้เกียจพูดคุย สมองล้า มึนงง ใบหน้าซีดเซียว อิดโรย นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ใจสั่น หายใจถี่ เวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ขาดสมาธิ ประจำเดือนมาผิดเวลา มามากหรือมาน้อย มากะปริบกะปรอย ประจำเดือนสีซีดและอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากเลือดพร่องก็จะค่อย ๆ ทุเลาลงและดีขึ้น
คนกลุ่มใดที่ต้องบำรุงเลือดอย่างสม่ำเสมอ
การบำรุงเลือดจัดเป็นวิธีการเสริมสร้างสุขภาพเชิงบูรณาการขั้นพื้นฐานแต่สำคัญยิ่งสำหรับคนทุกเพศทุกวัย แม้วันนี้คุณอาจโชคดีไม่มีอาการที่ชัดเจนก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่มีอาการภาวะเลือดพร่องอยู่แล้ว ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเลือดพร่องก็ควรจะบำรุงเลือดอย่างสม่ำเสมอเพื่อบำบัดอาการ เพิ่มโอกาสการหายของโรคและสะสมต้นทุนทางสุขภาพ
- ผู้ที่ร่างกายอยู่ในภาวะกึ่งแข็งแรงหรืออ่อนแอ เสริมสร้างสุขภาพเชิงบูรณาการ ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
- ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูก เพื่อขจัดต้นเหตุของภาวะโลหิตจาง
- ผู้ที่มีประจำเดือนผิดปกติ การบำรุงเลือดจะช่วยให้อาการประจำเดือนมาผิดเวลา มามากหรือมาน้อย มากะปริบกะปรอยและประจำเดือนสีซีด จะทำให้อาการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
- ผู้ที่รักสวยรักงาม เป็นการสวยจากภายในสู่ภายนอก ให้ใบหน้ามีออร่าและมีชีวิตชีวา