ริดสีดวงทวารกับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

ริดสีดวงทวาร เป็นโรคทางระบบลำไส้ และทวารหนัก ที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะช่วงอายุ 20 ปี ขึ้นไป อัตราการเกิดในเพศหญิงปริมาณมากกว่าเพศชาย โดยการที่เยื่อเมือกส่วนปลายของลำไส้ตรง ซึ่งบริเวณลำไส้ตรงทวารหนักเป็นส่วนที่กักเก็บ และขับอุจจาระทำให้กลุ่มหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังบริเวณท่อทวารหนักเกิดการขอด และโป่งพอง ถ้าเป็นมาก ๆ จะเห็นเหมือนเป็นติ่งเนื้อโผล่ออกมาทางทวารหนัก ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ ๆ คัน ๆ ซึ่งในระยะแรกจะเพิ่มอาการเจ็บปวดมากขึ้น การโป่งของเส้นเลือดนี้จะทำให้เกิดการเสียดสีกับอุจจาระ ในที่สุดก็จะเกิดเป็นแผล และมีเลือดออกขณะเบ่งหรือถ่ายอุจจาระ เรียกว่า “ริดสีดวงทวาร” แบ่งเป็น 3 ชนิดตามบริเวณที่เป็นโรค คือ ริดสีดวงภายใน ริดสีดวงภายนอก ริดสีดวงแบบผสม

5 อาการริดสีดวงทวาร

อาการริดสีดวงทวาร

  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  • ริดสีดวงภายในยื่นออกมา
  • อาการปวดถ่วง
  • รอบ ๆ ปากทวารมีความชื้น
  • ท้องผูก
7 สาเหตุการเกิดโรคริดสีดวงทวารในมุมมองแพทย์แผนจีน
7 สาเหตุการเกิดโรคริดสีดวงทวารในมุมมองแพทย์แผนจีน

สาเหตุการเกิดโรคริดสีดวงทวาร

มุมมองแพทย์แผนจีน สาเหตุพื้นฐาน คือ อวัยวะภายในอ่อนแอ เลือดและลมปราณพร่อง รับประทานอาหารรสจัดมากเกินไป ดื่มเหล้ามากเกินไปทำให้เกิดความชื้นและความร้อนไปสะสมบริเวณลำไส้ใหญ่ ทำให้เส้นเลือดอุดตันเกิดเป็นริดสีดวงทวารเกิดขึ้น การออกแรงเบ่งขณะคลอดลูก ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นระยะเวลานาน การนั่งถ่ายอุจจาระนานเกินไป ใช้แรงเบ่งมากส่งผลให้บริเวณลำไส้ถ่วงหย่อนลงเกิดเป็นริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวารภายใน เกิดจากลมชื้นจากภายนอกพิษร้อนที่คั่งขึ้นภายในชื้นลงสู่บริเวณทวาร และพิษหนักหรือมีภาวะม้ามพร่องชี่ทรุดลง การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ การแบกของหนัก ท้องผูก สาเหตุเหล่านี้ทําให้ลมปราณ และเลือดติดค้างที่บริเวณทวารหนัก เกิดอาการถ่ายปนเลือดมีหัวริดสีดวงปูดออกเวลาถ่าย

ริดสีดวงทวารภายนอก เกิดจากผิวทวารหนักถูกเสียดสีหรืออักเสบติดเชื้อ ทําให้ใต้รอยหยักทวารหนักลงมามีเนื้อเยื่อบวมขึ้น มีผิวเป็นเนื้อเยื่อผิวหนัง ไม่สามารถดันกลับเข้าไปในทวารหนักได้

โรคริดสีดวงทวารแบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ

  1. ระยะที่ยังไม่มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมานอกทวารหนัก
  2. ระยะที่เริ่มมีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาขณะเบ่ง ถ่ายอุจจาระ และจะหดกลับเข้าไปได้เอง โดยไม่ต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป
  3. ระยะที่มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาขณะเบ่งอุจจาระ แต่ไม่หดกลับเข้าไปได้เอง จะต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป จึงจะกลับเข้าไปในทวารหนัก
  4. ระยะนี้มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาแล้ว ไม่สามารถใช้มือดันติ่งเนื้อนี้เข้าไปในทวารหนักได้เลย
แนวทางในการรักษาโรคริดสีดวงทวารตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

แนวทางในการรักษาโรคริดสีดวงทวารตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

แนวทางในการรักษาโรคริดสีดวงทวารตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น สามารถทำได้ด้วยหลายวิธีการ เช่น การรับประทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณช่วยระบายความร้อน ขจัดลมร้อนชื้น เสริมพลังชี่ บำรุงม้าม กระตุ้นการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่ง ลดการอักเสบ ระงับปวด การแช่ยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ระงับปวด สมานแผล และลดบวม หรือใช้ยาสมุนไพรจีนในรูปแบบครีมทาริดสีดวง จะช่วยลดการบวม ระงับปวด ช่วยสมานแผลและห้ามเลือดได้ ตัวยาสมุนไพรที่สรรพคุณในการห้ามเลือดได้ดี เช่น ตี้หยู 地榆 จินหยินฮวา 金银花 นิยมนำมาใช้เป็นยาภายนอกรักษาริดสีดวง

7 วิธีป้องกันริดสีดวงทวาร
7 วิธีป้องกันริดสีดวงทวาร

วิธีการป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารนั้นควรสร้างวินัยการขับถ่ายเป็นเวลา ดื่มน้ำมาก ๆ ทานผักผลไม้ที่กากใยสูง เพื่อป้องกันท้องผูก หลีกเลี่ยงการนั่งขับถ่ายที่นานเกินไป ออกกำลังการสม่ำเสมอเพื่อช่วยเพิ่มการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย เท่านี้เราก็สามารถลดภาวะเสี่ยงจากการเป็นโรคริดสีดวงทวารได้

บทความโดย : แพทย์จีน อิสราภรณ์ เอกผาติสวัสดิ์

กลับไป
Facebook
LINE
อีเมล
Call
error: Content is protected !!