อาการปวดเอว ชาลงขาจากกระดูกทับเส้นกับการแพทย์แผนจีน

การเคลื่อนไหวที่ใช้งานหนัก การยกของหนักในแต่ละวัน หรืออายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้ โดยปัญหาที่พบบ่อยสุด คือหมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อที่ระดับที่มีการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนักของร่างกาย เมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความหนาของหมอนรองกระดูกลดลง มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก ทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้

3 อาการที่พบได้บ่อย ของโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท

3 อาการที่พบได้บ่อย ของโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท

  • อาการปวดหลัง สะโพกและปวดร้าวลงขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรงอาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม
  • อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้า และปลายนิ้วหัวแม่เท้า
  • อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่ 2

ศาสตร์การแพทย์แผนจีน มองโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจัดอยู่ในกลุ่ม ปี้เจิ้ง痹症/เย้า ถ้ง 腰痛 กลุ่มอาการปวดหรือ กลุ่มอาการปวดเอว ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคนั้น มีทั้งภายนอกและภายในร่างกาย

  • สาเหตุภายนอก เกิดจากลม ความเย็น ความชื้น หรือการบาดเจ็บฟกช้ำ
  • สาเหตุที่มาจากภายในร่างกาย ที่ทำให้ลมปราณ และเลือดเกิดการอุดตันในเส้นลมปราณ ทำให้ลมปราณ และเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อ และเอ็นได้ เมื่อเกิดการติดขัดของลมปราณ และเลือดทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และชา

การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ

  1. สาเหตุจากลมเย็น และความชื้นกระทบบริเวณเอว และกระเบนเหน็บจะมีอาการปวดแบบเมื่อยตึง รู้สึกหนัก ๆ เย็น ๆ หรือเกร็ง ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก เมื่อเจอลม ความเย็น และความชื้นกระทบจะเกิดอาการปวดมากขึ้น ลิ้นฝ้าขาวเหนียว ชีพจรลอยเต้นเร็ว
  2. สาเหตุจากลมร้อน และความชื้นกระทบบริเวณเอวจะลักษณะปวดบวมแดง ประคบอุ่นแล้วรู้สึกปวดน้อยลง เวลากลางวันปวดน้อย เวลากลางคืนปวดมาก ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก อาการแสดงร่วมตัวร้อน กลัวลม เหงื่อออก กระหายน้ำ ลิ้นฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรลอยเต้นเร็ว
  3. ชี่และเลือดคั่งมักมีประวัติได้รับบาดเจ็บบริเวณเอว มีอาการปวดเฉพาะที่ และปวดเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง อาการมักจะเป็นมากขึ้นเมื่อนั่งเป็นเวลานาน ทำงานหนัก หรือมีการเคลื่อนไหวเอวหรือหลัง ลิ้นม่วงคล้ำ ชีพจรตึงฝืด
  4. ตับและไตพร่องอาการจะดำเนินไปในลักษณะช้า ๆ ตรงบริเวณกระเบนเหน็บจะปวดเมื่อยแต่ไม่รุนแรง หลังทำงานอาการปวดจะมากขึ้น ประกอบกับมีอาการปวดเอว และขาอ่อนแรง รู้สึกร้อนข้างในกระดูก ใจสั่นปากแห้ง สีหน้าซีด ลิ้นสีซีด ชีพจรเส้นเล็ก และจม
แนวทางการรักษาอาการปวดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

แนวทางการรักษาอาการปวดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

แพทย์แผนจีนเน้นปรับการทำงานของอวัยวะภายใน ไต และตับ ที่เกี่ยวข้องกับอากรนี้โดยตรง ให้ทำงานกันอย่างสมดุล และแข็งแรง เพื่อลดอาการปวด อ่อนเพลีย

สมุนไพรจีนที่นิยมนำมาใช้ จื้อ ชวน อู 制川乌เข้าเส้นลมปราณหัวใจ ตับ ไต ม้าม มีรสเผ็ด ขม ฤทธิ์ร้อน สรรพคุณขับลม สลายชื้น อุ่นเส้นลมปราณ ลดปวด

สมุนไพรจีนอีกชนิดที่นิยมใช้ หรูเซียง 乳香เข้าเส้นลมปราณหัวใจ ตับ ม้าม มีรสเผ็ด ขม ฤทธิ์อุ่น สรรพคุณ ช่วยให้ลมปราณเลือดไหลเวียน ลดปวด ลดบวม ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวใช้รักษาอาการปวดเมื่อยบริเวณเอวได้ดี

อายุที่มากขึ้นภาวะเสื่อมถอยของร่างกายก็ตามมา อาการปวดเอว จากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจึงเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเหมาะสมกับวัย และทานยาสมุนไพรจีน เพื่อปรับสมดุลร่างกายให้แข็งแรง

บทความโดย : แพทย์จีน อิสราภรณ์ เอกผาติสวัสดิ์

สินค้าของเรา

กลับไป
Facebook
LINE
อีเมล
Call
error: Content is protected !!