อาการอ่อนเพลีย เลือดน้อย ประจำเดือนผิดปกติ กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การมีประจำเดือนเป็นสิ่งคู่กันสำหรับผู้หญิง ดังนั้นหากประจำเดือนมีความผิดปกติก็จะส่งผลกระทบกับสุขภาพร่างกายได้ โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาน้อย คือภาวะเลือดพร่อง ของศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั่นเอง
ภาวะเลือดพร่องในศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น อาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้หญิงประจำเดือนมาน้อย สีจาง หรือประจำเดือนไม่มา ลักษณะใบหน้า ริมฝีปาก เล็บซีด ผิวหนังแห้งกร้าน ผมร่วง ท้องผูกลิ้นซีด ชีพจรเต้นเส้นเล็ก
ภาวะที่ปริมาณเลือดประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนมาผิดปกติ มาน้อย มาเป็นหยดแล้วก็หายไป หรือมีประจำเดือนไม่ถึง 2 วัน เนื่องจากการที่ร่างกายมีภาวะเลือดพร่อง สาเหตุสำคัญมาจากร่างกายขาดสารจำเป็นและเลือด มดลูกขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดพร่องที่พบบ่อย
- เลือดพร่องโดยกำเนิด สารสำคัญในไตไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเลือดได้
- ความอ่อนแอของระบบย่อยอาหาร ทำให้ไม่สามารถย่อย และดูดซึมสารอาหารไปสร้างเลือดได้
- ความเจ็บป่วยเรื้องรัง อุบัติเหตุเสียเลือด การคลอดบุตร และดูแลรักษาไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเลือดทดแทนได้
- ความเครียดเรื้อรัง ความคิดมากฟุ้งซ่าน ทำลายเลือด และสารจำเป็นจากการเผาผลาญพลังงานทางความคิด

อาการอ่อนเพลีย เลือดน้อย ประจำเดือนผิดปกติ กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การมีประจำเดือนเป็นสิ่งคู่กันสำหรับผู้หญิง ดังนั้นหากประจำเดือนมีความผิดปกติก็จะส่งผลกระทบกับสุขภาพร่างกายได้ โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาน้อย คือภาวะเลือดพร่อง ของศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั่นเอง
ภาวะเลือดพร่องในศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น อาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้หญิงประจำเดือนมาน้อย สีจาง หรือประจำเดือนไม่มา ลักษณะใบหน้า ริมฝีปาก เล็บซีด ผิวหนังแห้งกร้าน ผมร่วง ท้องผูกลิ้นซีด ชีพจรเต้นเส้นเล็ก
ภาวะที่ปริมาณเลือดประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนมาผิดปกติ มาน้อย มาเป็นหยดแล้วก็หายไป หรือมีประจำเดือนไม่ถึง 2 วัน เนื่องจากการที่ร่างกายมีภาวะเลือดพร่อง สาเหตุสำคัญมาจากร่างกายขาดสารจำเป็นและเลือด มดลูกขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงนั่นเอง
สมุนไพรจีนที่นิยมนำมาใช้
ตังกุย当归ตัง กุย โถว (หัวตังกุย) 当归头และตัง กุย เหว่ย (หางตังกุย) (โกฐเชียง) 当归尾เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ ตับ ม้าม มีรสเผ็ด หวาน ฤทธิ์อุ่น
สรรพคุณ : บำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ใช้เป็นส่วนประกอบหลักในตำรับยาบำรุงเลือด เพื่อรักษาประจำเดือนมาน้อย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่น หน้าซีด ท้องผูก
อาการเจ็บป่วยของร่างกายเกิดจากการทำงานไม่สมดุลของอวัยวะภายในร่างกาย ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่ดี ตรงเวลามื้ออาหาร นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณบำรุงเลือดเพื่อบำรุงร่างกาย
บทความโดย : แพทย์จีน อิสราภรณ์ เอกผาติสวัสดิ์