แผลเบาหวานอันตรายกว่าที่คิด

เชื่อว่าหลายคนรู้ถึงพิษภัยของโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่รักษา ให้หายได้ยากนอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอด เลือดสมอง โรคไตวาย เป็นต้น ส่วนที่อันตรายที่เห็นจากภาย นอกของโรคเบาหวานที่น่ากลัวไม่แพ้กันนั่น ก็คือแผลเบาหวานที่เท้านั่นเอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ถูกตัดขาส่วนใหญ่เกิดจากแผลที่เท้าเป็นสำคัญ ฉะนั้น การดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มแรกจะสามารถป้องกันและลดอัตราเสี่ยงต่อการถูก ตัดขาได้

แผลเบาหวาน

การแพทย์จีนมีวิธีรักษาแผลเบาหวานอย่างไร?..

สำหรับแผลเบาหวาน การแพทย์จีนมีวิธีรักษาอันเป็นเอกลักษณ์นั้น คือ อุ้ยหนองจ่างโย่ว โดยใช้ยาสมุนไพรจีนสกัดชนิดครีมใน การพอกแผล ยาจะซึมเข้าสู่บริเวณแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นและ ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดเฉพาะที่เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนังบริเวณที่ เป็นแผลทั้งกระตุ้นการขับน้ำหนองออกมาให้มากขึ้น เพื่อสลายเนื้อที่เน่าเปื่อย และถอนพิษออกจากแผล อีกทั้งจะช่วยกระตุ้นการเกิดเนื้อเยื่อใหม่ทำให้แผล สมานได้เร็วขึ้น จากการศึกษาทางคลินิกและเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่ามี

กลไกการออกฤทธิ์สำคัญดังนี้

ตี้หวี้

ตี้หวี้ (Sanguisorba Officinalis Root Extract)

ช่วยกระตุ้นการขับน้ำหนองออกจากแผลเพื่อสลายเนื้อที่เน่าเปื่อยทำให้แผลแห้งและสมานได้เร็วขึ้น

ตี้หวาง (Rehmannia Glutinosa Root Extact)

ช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ลดการอักเสบและติดเชื้อได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

อยู่เซียง (Olibanum)
กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นกระบวนการสมานแผล

น้ำมันงาบริสุทธิ์

น้ำมันงาบริสุทธิ์ (Sesamum Indicum Seed Oil)
มีคุณสมบัติในการซึมเข้าสู่ใต้ผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว จึงนำสารสกัดจากสมุนไพรเข้าไปรักษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ต้านแบคทีเรียและเชื้อรา สามารถลด การอักเสบ อีกทั้งอุดมไปด้วยวิตามิน E ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูนอิสระ ทำให้ผิวเนียนนุ่มชุ่มชื่น

ป้องกันการเกิดแผลเบาหวานได้อย่างไร

  • ควรแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิ 39-40 องศาเซลเซียส เป็นประจำเพื่อ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จากนั้นให้ใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ซับเบาๆ ให้แห้ง ผ้าขนหนูควรใช้สีขาวเพราะเมื่อมีเลือดหรือหนองซึมออกมาจะสังเกตได้ง่าย
  • ควรตัดแต่งเล็บเท้าอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เล็บจิกเข้าไปในนิ้วหรือให้ ผู้อื่นช่วยตัดให้ เนื่องจากปลายประสาทของผู้ป่วยเบาหวานมักจะเสื่อม เวลาตัด เข้าเนื้อตัวเองก็อาจยังไม่รู้ตัว
  • ไม่ควรใส่รองเท้าที่เปิดบริเวณหน้าเท้ามากเกินไป รองเท้าที่คับเกินไป หรือไม่ควรเดินด้วยเท้าเปล่า เพื่อลดการเกิดแผลที่เท้า และควรตรวจบริเวณเท้า เป็นประจำแม้แต่มีแผลเล็กน้อยก็ไม่ควรมองข้าม

ตัวอย่างผู้ป่วยแผลเบาหวาน

ตัวอย่างผู้ป่วยแผลเบาหวาน

ผู้หญิง อายุ 64 ปี มีประวัติเป็นเบาหวานมา 10 ปี เท้าขวาเป็นแผลเบาหวานเรื้อรังมาเป็นเวลา 3 เดือน

ผู้หญิง อายุ 72 ปี เป็นเบาหวานมา 15 ปี เท้าและขาขวาเป็นแผลเรื้อรังเนื่องจากน้ำร้อนลวก

กลับไป
Facebook
LINE
อีเมล
Call
error: Content is protected !!